ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook


มาตรฐานทักษะและความรู้ คน LP ต่อภารกิจ 'S' ตัวที่หนึ่ง 'Shrinkage' (1) article

 

“A Small Leak Can Sink A Great Ship” Benjamin Franklin รูรั่วรูเดียว อาจทำให้เรืออับปางได้ ฉันใด การสูญหายและเสียหายของสินค้าและทรัพย์สินเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ธุรกิจอับจนได้ ฉันนั้น

       ไม่ว่าการสูญหายและเสียหายของสินค้าและทรัพย์สินจะเกิดขึ้นจากแหล่งภายในหรือภายนอก ปัญหานี้เป็นปัญหาละเอียดอ่อน แต่แนวทางการป้องกันการสูญหายและเสียหายอาจเป็นส่วนหนึ่งของวิธีป้องกันแก้ไขได้ แทนที่จะมุ่งเน้นเฉพาะกลยุทธ์เชิงรับ การทำความเข้าใจบทบาทของหน่วยงาน LP (Loss Prevention) จะช่วยให้เราป้องกันการสูญหายและเสียหายต่อองค์กรได้

  •  S แรก Shrikage การลดการสูญเสียของสินค้าและทรัพย์สิน

       ความสำเร็จของธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ไม่ได้สำคัญอยู่เพียงแค่การหารายได้จากการขายสินค้าและหรือบริการให้ได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น หากธุรกิจไม่สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่ารายได้ ย่อมกระทบต่อผลประกอบการ นำไปสู่ความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ

ประเด็นหลักที่พึงระวังคือ การสูญหายเสียหายของสินค้าในธุรกิจค้าปลีก ซึ่งมีสาเหตุจาก 4 ประเด็น คือ

1.การขโมยสินค้าโดยบุคคลภายนอกร้านค้า

2.การขโมยสินค้าโดยบุคคลภายในร้านค้า

3.ผู้ขายหรือคู่ค้า

4.ความผิดพลาดต่างๆ ภายในร้านค้า ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอัตราการสูญหายมากที่สุดมาจากการขโมยสินค้าโดยลูกค้าและการทุจริตของบุคลากรภายในร้านค้า รวมถึงข้อผิดพลาดจากการบริหารจัดการภายใน

·         ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญหายของสินค้าในร้านค้าปลีก ประกอบด้วย
1. ความต้องการสินค้าของบุคคลภายนอก
ร้านค้า ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และพนักงานส่งสินค้า ตลอดจนความต้องการสินค้าของพนักงานภายในร้านค้า ซึ่งนำสินค้าออกไปจากร้านค้าโดยไม่มีการจ่ายชำระค่าสินค้า หรือการขโมยสินค้านั่นเอง
2. โอกาสสำหรับผู้ที่คิดจะกระทำการทุจริตโดยการขโมยสินค้าภายในร้านค้าปลีก
3. มาตรการในการลงโทษผู้กระทำการทุจริตสินค้า และความสม่ำเสมอในการใช้มาตรการ

ในการ ป้องกันการสูญหายของสินค้าสำหรับร้านค้าปลีก ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างกว้างขวาง อาจแบ่งเป็น 4 วิธี คือ
1. การวางแผนร้านค้า ประกอบด้วย การออกแบบร้านค้า การจัดผังร้านค้า การจัดเรียงสินค้า
2. การใช้พนักงานหรือบุคลากรที่ดีในการกำกับดูแลและจับกุมผู้ที่ขโมยสินค้า ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ตรวจสอบภายใน
3. การใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยในการป้องกันการสูญหายของสินค้าได้มากขึ้น ได้แก่ ติดตั้งกระจกภายในร้านค้าปลีก ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด โดยอุปกรณ์ต่างๆ มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันก่อนที่จะเกิดการสูญหายของสินค้าหรือการเสียหายของทรัพย์สินสำหรับธุรกิจค้าปลีกเพื่อเป็นแนวทางช่วยป้องกันความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือความคาดหมายลงได้
4. มาตรการและแนวทางการปฏิบัติงาน เมื่อความสูญเสียและค่าใช้จ่ายของธุรกิจค้าปลีกลดลง กำไรก็จะเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

จงจำไว้ว่า!!! การลดการสูญหาย-เสียหายของสินค้าและทรัพย์สินไม่ใช่เรื่องการขจัดความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องการเตรียมพร้อม ดำเนินการอย่างรวดเร็ว และปกป้องธุรกิจของคุณจากอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จต่อไปได้

  • มาตรฐานสมรรถนะ Shrinkage (LP004) ภายใต้คุณวุฒิวิชาชีพ LP

       หน่วยสมรรถนะของบุคลากร LP ต่อการป้องกันการสูญเสีย Shrinkage ที่กำหนดตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ภายใต้หน่วยสมรรถนะ LP 004 ระบุไว้ว่า ต้องมีทักษะในทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลระบบรักษาความปลอดภัยในร้านค้า ต้องสามารถจัดทำแผนและปฏิบัติลดการถูกลักขโมย และความเสียหายของสินค้าในร้านค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อีกทั้งสามารถปฏิบัติตามนโยบาย วิธีการ และแนวปฏิบัติที่ใช้ในธุรกิจเพื่อความปลอดภัย ป้องกันการถูกลักขโมย รายงานการถูกลักขโมย หรือรายงานพฤติกรรมที่น่าสงสัยของบุคคล การเฝ้าระวังสินค้าและควบคุมพื้นที่ เพื่อลดโอกาสในการลักขโมยของลูกค้าและพนักงาน

  • มาตรฐานสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ

1. ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยในงานประจำ
1.1 ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยและวิธีปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
1.2 ดูแลรักษาเงินสดในลิ้นชักแคชเชียร์และจัดเก็บเป็นรอบๆ ตามนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนด
1.3 สังเกตและจัดการกับพฤติกรรมที่น่าสงสัยของลูกค้าตามวิธีปฏิบัติและข้อกำหนดทางกฎหมาย
1.4 ดำเนินการกับผู้ลักขโมยทั้งที่เป็นบุคคลภายในและภายนอกตามวิธีปฏิบัติและข้อกำหนดทางกฎหมาย
1.5 จัดเก็บสินค้าและอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้อย่างปลอดภัยตามวิธีปฏิบัติที่กำหนด

2. ลดปริมาณการถูกลักขโมย
2.1 ปฏิบัติตามวิธีการและข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเหมาะสมเพื่อลดการถูกลักขโมย
2.2 ดูแลรักษาสินค้าตามนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนด
2.3 ตรวจเช็กกระเป๋าของลูกค้าตามวิธีการและข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเหมาะสม
2.4 ปฏิบัติตามวิธีการและข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเหมาะสมเพื่อลดการถูกลักขโมย
2.5 รักษาความปลอดภัยของเงินสด เครื่องเก็บเงิน และกุญแจตามนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนด
2.6 ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินให้กับลูกค้า พนักงาน และบุคคลภายนอกตามวิธีการและข้อกำหนดทางกฎหมาย
2.7 ดำเนินการกับผู้ต้องสงสัยในการลักขโมยตามวิธีการและข้อกำหนดทางกฎหมาย

3. ตรวจและระบุความเสี่ยงการสูญเสีย
3.1 ตรวจสอบความเสี่ยงจากการให้บริการของแคชเชียร์
3.2 ระบุความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการสูญเสีย เช่น การจัดเรียงสินค้าที่เสี่ยงต่อการเสียหายสูญหาย การทุจริตพนักงาน
3.3 การดำเนินการหรือตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ตรวจพบ
3.4 การดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงซ้ำ

  • มาตรฐานด้านความรู้สำหรับบุคลากร LP
    1. ความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยในร้านและตำแหน่งที่ตั้ง
    2. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการรายงานเมื่อมีการลักขโมยทั้งจากบุคคลภายในและภายนอก หรือพฤติกรรมที่น่าสงสัย
    3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาความปลอดภัยของเงินสดและทรัพย์สินอื่น
    4.ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติ ในเรื่องเกี่ยวกับ
       
    4.1 การตรวจค้นกระเป๋าหรือถุงใส่สินค้าของลูกค้า
       
    4.2 การนับ การวัด และการชั่งน้ำหนักสินค้า
       
    4.3 การจัดการกับพฤติกรรมที่น่าสงสัย หรือเมื่อมีการลักขโมยเกิดขึ้น
       
    4.4 การจัดการและการจัดเก็บสินค้า
       
    4.5 การรายงานปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
       
    4.6 ความปลอดภัย
       
    4.7 การหมุนเวียนของสินค้า

กล่าวโดยสรุป การป้องกันการสูญเสียถือเป็นความท้าทายที่แท้จริงสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีก การสูญเสียเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ค้าปลีกต้องสูญเสียเงินนับล้านๆ บาททุกปี เนื่องมาจากการโจรกรรมจากภายนอก การโจรกรรมจากภายใน และข้อผิดพลาดด้านการบริหาร การมีบุคลากร LP ที่ได้รับการประเมินตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า บุคลากร LP จะใช้สมรรถนะความสามารถในการปฏิบัติงาน พร้อมด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี ทำให้เกิดการตรวจสอบการป้องกันการสูญเสียอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะตอกย้ำได้ว่านโยบายการป้องกันการสูญเสียเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้

https://www.bangkokbiznews.com/business/1177402




ประชาสัมพันธ์ PR News

ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤษภาคม 2568 article
เศรษฐกิจอีสาน 2 ทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560) ข้อเท็จจริงที่หลายคนอาจไม่เคยตระหนัก (1) article
South Africa visit Wholesale & Retail article
GDP ไทย ปี 2568 วูบเหลือ 1.8% ไตรมาส 3 เสี่ยงโตต่ำสุด! article
ดัชนี RSI เดือน 4 ‘เพิ่มขึ้น’ 6.0 จุด ‘ดีด้วยเทศกาล ข้างหน้ายังอึมครึมไม่สดใส’ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนเมษายน 2568 article
มาตรฐานทักษะและความรู้ คน LP ต่อภารกิจ 'S' ตัวที่หนึ่ง 'Shrinkage' (2) article
Shrinkage Safety และ Security ภารกิจ 3S ของหน่วยงาน Loss Prevention article
‘สมาคมผู้ค้าปลีกไทย’หนึ่งเดียวในไทย ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรประเมินวิชาชีพ LP article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนมีนาคม 2568 article
ปลดล็อก!!! ห้ามขาย 5 วันพระใหญ่ และเวลาช่วงบ่าย 2-5 โมงเย็น article
ดัชนีเชื่อมั่น RSI ก.พ.2568 ‘ท้อแท้-กังวล’ แต่ก็ยังมีหวังอยู่นิดๆ article
วิกฤติ ‘ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล’ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกุมภาพันธ์ 2568 article
ทำไม Omni Channel ถึงสำคัญ ต่อ Retail Business ในยุคดิจิทัล? article
Back to Basic of Retail Visibility/Accessibility/Easy to Shop /Easy to Check(out) article
เปิดศักราชใหม่ 2568 ‘ฝุ่น PM 2.5 มืดครึ้มทั่วฟ้า’ ฉุด...ดัชนี RSI ลดลงถึงสองหลัก article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนมกราคม 2568 article
ติดปีกค้าปลีก ด้วย Technology AI article
จับตาทิศทางค้าปลีก ปี 2568-2570 article
ผู้ประกอบการจะรับมืออย่างไร? ภายใต้ความผันผวนค้าปลีกค้าส่งปี 2568 article
ค้าปลีกและบริการ ปี 2568 '4 ความหวัง 5 ความกังวล' article
นิยาม....ค้าปลีกและบริการปี 2567 ‘ลอยคอ รอคอย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ’ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนธันวาคม 2567 article
แนวทางปฏิบัติ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568 article
ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ....... ต้องเพื่อสร้างสมดุลความเป็นธรรมการค้าและสุขภาพ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤศจิกายน 2567 article
ปักหมุดทำความเข้าใจกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง article
PHYGITAL แนวโน้มธุรกิจการค้าและบริการในอนาคต article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนตุลาคม 2567 article
Everyday AI IS NOW article
ช้อปออนไลน์ โตก็จริง แต่ผู้บริโภคก็ยังชอบมาที่ร้านค้าอยู่ดี article
รู้แต่เปลือก แต่ไม่รู้แก่น ผิดที่ ผิดเวลา 10 ปีก็ไม่โต! article
เทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับ Local Modern Retail ต้องเลือกที่ใช่เพื่อยกระดับสู่ Smart Retail article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกันยายน 2567 article
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแจกเงินแค่เครื่องมือ หมุดหมายสำคัญคือข้อมูล article
ถอดรหัส จาก Work-Life Balance สู่ Work-Life Integration article
‘ศูนย์การค้า’ แนวคิดใหม่ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค article
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนสิงหาคม 2567 article
ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ) article
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก...เกินคาดคิด (1) article
ครึ่งปีหลัง 2567 เหนื่อยกว่าที่คิด หนักกว่าที่คาด article
เศรษฐกิจ Brand Name มือสอง ของดี ที่ต้องมี
Why SME Fail !!! เมื่อจะใช้เทคโนโลยี AI article
Quantum AI เทคโนโลยี Disrupt Retail อนาคตอันใกล้ article
หนี้ครัวเรือน ลูกระเบิดที่จะฉุดค้าปลีกฟื้นตัวช้า article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทยทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (จบ) article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทย ทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (1)
เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว article
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกันยายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนพฤษภาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนเมษายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนมีนาคม 2564
ดัชนีค้าปลีก กุมภาพันธ์ 2564
กิจกรรมของสมาคมฯปี 2563
กรมอนามัย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของสถานบริการ ร่วมประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID (TSC)
New Normal Retailer
ขอเชิญชวนสมัครสมาชิกสมาคมฯ ปี 2564
ลงทะเบียน ผู้ที่ยังมิได้รับการอบรม ผู้สัมผัสอาหาร ด่วน
ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ONLINE เริ่ม 7 ธ.ค. 63
เคาะ “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 แสนล้าน ดัน GDP 0.30 %
รัฐบาลอนุมัติ ช้อปดีมีคืน เพิ่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คู่มือและเอกสาร : การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 (22/7/63)
HR committee Meeting 18/02/2563



Copyright © 2014 All Rights Reserved.