“Safety” จะหมายถึง มาตรการ หรือ วิธีการรักษาความปลอดภัยที่มุ่งป้องกันภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (ความผิดพลาดของมนุษย์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ) ด้านชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปจะใช้ในสถานประกอบการเป็นสำคัญ
“Security” เป็นมาตรการป้องกันภัย หรือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันภัยคุกคามในวงกว้างเน้นที่เป็นความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สินส่วนบุคคล องค์การ/หน่วยงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบในภารกิจ Safety ของ LP
1.การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์การป้องกันอัคคีภัยและระบบสัญญาณเตือนภัย นับตั้งแต่
1) การตรวจสอบถังดับเพลิง
2) ไฟฉุกเฉิน
3) สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
4) ตู้ สายดับเพลิง
5) ประตูหนีไฟ
6) ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย
7) การทดสอบระบบ 100%
2.มาตรฐานการตรวจสอบระบบความปลอดภัย เริ่มจาก
1) การตรวจพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
2) การสุ่มตรวจสอบการขับขี่รถยกไฟฟ้า
3) การตรวจสอบห้องอาหารก่อนปิดสาขา
4) การตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บถังแก๊ส
5) การตรวจสอบร้านค้าเช่าหลังปิดการขาย ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ตลอดจนถึงการตรวจสอบประจำปี ในรายละเอียดต่างกัน
3.การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย
1) การอบรมดับเพลิงขั้นต้น-40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
2) การซักซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี
3) การจัดทำรายงานซักซ้อมหนีไฟ
4) การตรวจอาคารและทรัพย์สิน
5) การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยประจำเดือน
6) ประสานงานให้มีการอบรม จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร
4.กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องรู้
1) นโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2) ระเบียบการใช้รถยกไฟฟ้าและรถลากสินค้า
3) ระเบียบความปลอดภัยในงาน เช่น การใช้บันไดตัว A และรถเข็นบันไดเพื่อความปลอดภัย
4) มาตรฐานการใช้ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง และการติดตั้งสวิตช์ไฟ เป็นต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบในภารกิจ Security ของ LP
S ที่สาม Security การป้องกันภัย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันภัยคุกคามในวงกว้างเน้นที่เป็นความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สินส่วนบุคคล องค์การ/หน่วยงาน อันประกอบด้วย
1.มาตรการการสอบสวนพนักงานลักทรัพย์
2.มาตรการการสอบสวนลูกค้าลักทรัพย์
3.มาตรการการติดตามผู้ต้องสงสัย /การตรวจค้น/การควบคุม
4.มาตรการการปฏิบัติในกรณีถูกข่มขู่วางระเบิด หรือ การก่อวินาศกรรม
5.มาตรการการปฏิบัติกรณีตรวจพบวัตถุระเบิด
6.มาตรการปฏิบัติกรณีเหตุวิวาท
7.มาตรการกรณีลูกค้าเกิดอุบัติเหตุ
8.มาตรการปฏิบัติกรณีภัยพิบัติ
9.ปฏิบัติเป็นผู้บังคับบัญชาที่เกิดเหตุในกรณีเหตุวิกฤต Crisis Management
10.อื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
เกณฑ์ในการประเมินรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ LP
ดังจะเห็นได้ว่า ภารกิจของ LP ไม่ได้รับผิดชอบเพียงแค่ Shrinkage แต่ยังต้องมีความรับผิดชอบต่อ ภารกิจ Safety และ Security ต่อชีวิต ทรัพย์สินทั้งส่วนบุคคล องค์การ/หน่วยงาน แต่ในความเป็นจริงของธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและบริการ มีขนาด จำนวนสาขา จำนวนบุคลากร และจำนวนลูกค้าที่ให้บริการมีความแตกต่างกัน
การที่บทบาทหน้าที่ของ LP จะมีความรับผิดชอบครบทั้ง 3S (Shrinkage, Safety and Security) หรือจะมุ่งเน้นแค่ Shrinkage หรือจะขยายขอบเขตเพิ่มเป็น 2 ภารกิจ Shrinkage และ Safety ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจและบริบทองค์กรแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม คุณวุฒิวิชาชีพ การป้องกันการสูญเสีย Loss Prevention ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ฉบับปี พ.ศ.๒๕๖๒ ภารกิจของ LP จะใช้ภารกิจ 3S (Shrinkage, Safety and Security) เป็นแนวทางในการประเมินและพิจารณาการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นเกณฑ์สำคัญ
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1179516