ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook


หนี้ครัวเรือน ลูกระเบิดที่จะฉุดค้าปลีกฟื้นตัวช้า article

 ในภาพรวมค้าปลีกของปี 2567 ผลจากดัชนีผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) ที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทยดำเนินการร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าดัชนี RSI เดือนพ.ค.2567 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2567 “ซึมลึกต่อเนื่อง” นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2566 บ่งบอกถึงการบริโภคที่ถดถอยอย่างมีนัย

 

       ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ฉุดรั้งการบริโภคให้ถดถอย ก็คือ หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การคาดการณ์เศรษฐกิจของ ธนาคารแห่งประเทศไทย หนี้ครัวเรือนไทยจ่อเร่งตัวแตะ 91.4% ต่อ GDP ภายในสิ้นปี 2567 นี้ แม้การเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ครัวเรือนจะสามารถกระตุ้นการบริโภคได้ในระยะสั้น แต่หนี้ที่สูงเกินระดับ 80% ต่อ GDP ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการบริโภคแล้ว แต่จะส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกในระยะยาว

 

 

หนี้ครัวเรือน เกิดจากอะไร

       จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3 ปี 2564 สูงถึง 89.3% ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 80% เมื่อต้นปี 2563 และประมาณการหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงถึง 91% ต่อ GDP ในปี 2565 

        หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของวัตถุประสงค์การกู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์ และเครดิตยูเนี่ยน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของหนี้ครัวเรือน อันดับแรก การกู้ยืมเพื่อนำไปชำระหนี้สินเดิม (26%) อันดับสอง ใช้สอยส่วนตัว (24%) และอันดับสาม ใช้จ่ายด้านอื่นๆ (13%) ซึ่งแตกต่างจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ที่ส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อซื้อบ้านและรถยนต์

ปัจจัยที่ทำให้ครัวเรือนมีรายรับไม่พอรายจ่าย 

        ส่วนหนึ่งมาจากรายจ่ายไม่จำเป็น และส่วนใหญ่มาจากภาระหนี้ที่สูง ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ที่ครัวเรือนที่มีหนี้ และมีปัญหาควรลด โดยต้องลดลงถึง 83% จากปริมาณการใช้จ่ายปัจจุบัน เพื่อให้ครัวเรือนมีรายรับเพียงพอกับรายจ่าย รองลงมาคือ หมวดเสื้อผ้า ซึ่งครัวเรือนควรลดการใช้จ่ายถึง 73% ส่วนค่าอาหารนอกบ้าน และของใช้ส่วนบุคคลก็ควรลดลง 58% และ 54% ตามลำดับ 

        นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายอื่นๆ ที่ควรปรับลด การใช้จ่ายเพื่อสร้างวินัย และลดความเสี่ยงทางการเงินในครัวเรือน เช่น ค่าเหล้า และค่าหวยที่ควรลดลง ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้จ่ายในปัจจุบัน หากครัวเรือนปรับลดรายจ่าย ที่ไม่จำเป็น และนำเงินที่เหลือไปชำระหนี้ (ลดภาระหนี้) เพื่อลดเงินต้นอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ก็จะสามารถสร้างฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นได้ กระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา และความอดทนอดกลั้นแต่สามารถทำได้

        หนี้ครัวเรือนจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะหนี้ส่วนใหญ่ของคนไทยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ส่วนในฝั่งผู้กู้ พบว่าผู้กู้ที่มีหนี้ และมีหนี้เสียเยอะเป็นผู้กู้อายุน้อย เกษตรกรก็สะสมหนี้จนแก่ มีประเด็นแน่นอนในการพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว และเห็นว่าผู้กู้มีการกู้หลายบัญชีมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับคุณภาพหนี้ที่ด้อยลง เห็นหนี้ที่กระจุกตัวที่อาจจะมีความเสี่ยงเชิงระบบได้

        แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน

1.“เพิ่มรายได้ของครัวเรือน” รัฐบาลควรให้การสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพการผลิตให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น ให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการผลิตต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของภาคครัวเรือน อุปสงค์ มวลรวมจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ภาคการผลิตมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ สามารถที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพิงสถาบันอื่นๆ จากภายนอก เศรษฐกิจของประเทศก็จะมีการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ลดช่องว่างระหว่างคนจน และคนรวยลง และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้นเพราะตราบใดที่ครัวเรือนยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องก่อหนี้เพื่อนำไปใช้จ่าย ในภาพใหญ่คงต้องช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรให้แรงงานไทยเก่งขึ้น มีทักษะการทำงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด

2.“ปลดหนี้เดิม” ในช่วงที่ผ่านมา หลายหน่วยงานริเริ่มมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ทยอยปรับตัว และหลุดพ้นจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผลักดันหลายโครงการ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ คลินิกแก้หนี้ และโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนสอดคล้องกับรายได้ที่เปลี่ยนไป

        ด้านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เดินหน้าช่วยเหลือกลุ่มข้าราชการครูที่ประสบปัญหาหนี้สินสูง สำหรับกรมส่งเสริมสหกรณ์เริ่มออกแบบมาตรการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเร่งเดินหน้าต่อไปเพื่อทำให้หลายมาตรการที่ออกมาเกิดผลดีในวงกว้าง

3.“สร้างความตระหนักรู้ทางการเงินด้วยการให้มีบัญชีครัวเรือน" เพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่าย และการก่อหนี้ที่เกินตัว มีความตระหนักถึงความสำคัญของการออม และการลงทุน รู้จักวางแผนการเงิน และบริหารความเสี่ยง บัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นเรื่องของการรู้จักตนเองสำคัญ และเป็นวิถีชีวิต ถ้าครอบครัวหนึ่งทำบัญชีครัวเรือนอย่างดี เอาบัญชีครัวเรือนมาดูจะรู้ว่าครัวเรือนนี้ดำรงชีวิตอย่างไร จนหรือรวย สุขภาพครอบครัวเป็นอย่างไร

        การแก้ไขวิกฤติหนี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ การแก้ไขด้านรายได้ต้องทำควบคู่ไปกับการลดหนี้ ถ้าหนี้ลด แต่รายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายจะกลับไปเป็นหนี้อีก ดังนั้น การปรับขีดความสามารถทางการผลิตที่แข่งขันได้ในอนาคต จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการสร้างรายได้ของประชาชน และผู้ประกอบการ รัฐบาลต้องมองปัญหาหนี้ และรายได้ให้ทะลุ รีบลงมือปฏิบัติก่อนที่สายเกินไป

 https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1130233




ประชาสัมพันธ์ PR News

เทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับ Local Modern Retail ต้องเลือกที่ใช่เพื่อยกระดับสู่ Smart Retail article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกันยายน 2567 article
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแจกเงินแค่เครื่องมือ หมุดหมายสำคัญคือข้อมูล article
ถอดรหัส จาก Work-Life Balance สู่ Work-Life Integration article
‘ศูนย์การค้า’ แนวคิดใหม่ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค article
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนสิงหาคม 2567 article
ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ) article
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก...เกินคาดคิด (1) article
ครึ่งปีหลัง 2567 เหนื่อยกว่าที่คิด หนักกว่าที่คาด article
เศรษฐกิจ Brand Name มือสอง ของดี ที่ต้องมี
Why SME Fail !!! เมื่อจะใช้เทคโนโลยี AI article
Quantum AI เทคโนโลยี Disrupt Retail อนาคตอันใกล้ article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทยทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (จบ) article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทย ทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (1)
เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว article
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกันยายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนพฤษภาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนเมษายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนมีนาคม 2564
ดัชนีค้าปลีก กุมภาพันธ์ 2564
กิจกรรมของสมาคมฯปี 2563
กรมอนามัย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของสถานบริการ ร่วมประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID (TSC)
New Normal Retailer
ขอเชิญชวนสมัครสมาชิกสมาคมฯ ปี 2564
ลงทะเบียน ผู้ที่ยังมิได้รับการอบรม ผู้สัมผัสอาหาร ด่วน
ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ONLINE เริ่ม 7 ธ.ค. 63
เคาะ “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 แสนล้าน ดัน GDP 0.30 %
รัฐบาลอนุมัติ ช้อปดีมีคืน เพิ่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คู่มือและเอกสาร : การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 (22/7/63)
HR committee Meeting 18/02/2563



Copyright © 2014 All Rights Reserved.