ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook


ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก...เกินคาดคิด (1) article

 เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจนอกระบบ (Shadow Economy) คำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจทันทีก็คือ อะไรคือเศรษฐกิจนอกระบบ และเศรษฐกิจนอกระบบ มาเกี่ยวข้องอะไรกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ

        เมื่อมีการนำเอาเศรษฐกิจนอกระบบ มารวมไว้กับเศรษฐกิจที่เป็นทางการแล้วจะส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

        จากข้อมูล Informal Economy Database ของธนาคารโลก ระบุว่าในปี 2021 ไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบ สูงถึง 48.7% ของ GDP โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 32.7% และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย (เป็นรองแค่ประเทศเมียนมา) และถ้าเทียบกับ GDP ของไทยในปี 2021 ที่อยู่ที่ 18 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าเราจะมีขนาดเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่ถึง 8 ล้านล้านบาท

        ซึ่งหากเทียบกับประเทศอื่นในโลกแล้ว เศรษฐกิจนอกระบบประเทศไทย อยู่ประมาณ อันดับที่ 15 ของโลกจาก 158 ประเทศที่มีฐานข้อมูลของ World Bank นั่นก็หมายความว่า 

 

 

        ถ้านับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ ประเทศไทย จะมีขนาดเศรษฐกิจที่สูงถึง 26 ล้านล้านบาททีเดียว! ซึ่งหากจัดอันดับรายชื่อประเทศเรียงตามจีดีพีโดยประมาณการ ปี 2021 ประเทศไทยจะเลื่อนจากอันดับที่ 30 ไปอยู่อันดับที่ 20 ของโลกอย่างสบายๆ เมื่อนับรวมนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ

นิยาม เศรษฐกิจนอกระบบ Shadow Economy

        เศรษฐกิจนอกระบบ หรือ​ Informal Economy/Shadow economy ตามคำนิยามขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการบันทึกไว้ในระบบบัญชีประชาชาติ ซึ่งถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีจากรัฐ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนภาคเศรษฐกิจที่อยู่ในระบบ เช่น หาบเร่ แผงลอย ซื้อขายของเก่า ฯลฯ

        ปัญหาที่ตามมาจากเศรษฐกิจนอกระบบ คือ รัฐเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับธุรกิจที่อยู่ในระบบ เสียภาษีถูกต้อง และในกรณีเป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจนำไปสู่ปัญหาการฟอกเงินและอาชญากรรมได้

        จากเอกสาร “กรอบแนวคิดและบทบาทของเศรษฐกิจนอกระบบ” (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์) ระบุไว้ว่า โดยทั่วไป เศรษฐกิจนอกระบบมักจะหมายถึง ธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือทั้งหมดใน 5 กลุ่ม สำคัญ ๆ ดังนี้

1.ธุรกิจผิดกฎหมาย หรือ ธุรกิจสีเทา

       เช่น การค้าของเถื่อน การค้ายาเสพติด การค้าสัตว์และพืชสงวนพันธุ์ การค้าประเวณี การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การพนัน การค้ามนุษย์ (การค้าแรงงาน การค้าเด็ก และการค้าผู้หญิงเป็นโสเภณี) การลักลอบค้าสื่อลามก การประกอบธุรกิจผิดกฎหมายผ่านอินเทอร์เน็ต (การทายผลกีฬา และการพนันอื่นๆ การค้าประเวณี)

2.การหลีกเลี่ยงภาษีในรูปแบบต่างๆ

       โดย 10 กลวิธีในการเลี่ยงภาษีที่นิยมกระทำกันตลอดมาทั้งในส่วนของการเสียภาษีบุคคลและในรูปนิติบุคคลที่กรมสรรพากรได้สรุปให้ ประกอบด้วย

1.การตั้งตัวแทนเชิด

2.การตั้งคณะบุคคล

3.การทำให้บริษัทขาดทุน

4.การหลบยอดขายและยอดซื้อ

5.การซื้อใบกำกับภาษี

6.การหลีกเลี่ยงโดยผ่านระบบบัญชี

7.การตั้งบริษัทเพื่อเจตนาออกใบกำกับภาษีซื้อปลอม

8.การซื้อบิลจริง แต่ไม่มีการกระทำจริง

9.ธุรกิจพัฒนาที่ดินที่นิยมเลี่ยงภาษีกันมากส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็ก รายกลาง และอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด จะกระทำโดยการแบ่งขายและประกาศขายที่ดินเปล่าเท่านั้น

10.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดมิเนียม ของนักพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ที่ดำเนินการในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหลายจังหวัด จะมีการประกาศขายห้องชุดเพียงบางส่วน และมีการเก็บห้องชุดอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อใช้ประกอบกิจการโรงแรม

3.การคอร์รัปชันทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน

       ดัชนีการรับรู้การทุจริต พ.ศ.2564 CPI : Corruption Perception Index 2021 จัดอันดับ ประเทศไทยได้คะแนน 35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อันดับโลก อยู่อันดับที่ 110 จากทั้งหมด 180 ประเทศ อันดับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันดับที่ 15 จากทั้งหมด 29 ประเทศ ที่เข้าร่วมการประเมิน อันดับในภูมิภาคอาเซียน อันดับที่ 5 จากการจัดอันดับทั้งหมด 9 ประเทศ ที่เข้าร่วมการประเมิน

4.เศรษฐกิจจากธุรกิจอาชีพอิสระ

       เป็นกิจกรรมที่มิได้ถูกนับรวมเข้าไว้อยู่ในสถิติของบัญชีรายได้ประชาชาติอย่างครบถ้วน ได้แก่ การทำธุรกิจในครัวเรือน การประกอบอาชีพส่วนตัว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง กวดวิชารับจ้างสอนพิเศษ การทำงานหลังเวลางานปกติ หาบเร่ แผงลอย และเครดิตนอกระบบธนาคารตลอดจนการทำธุรกิจขนาดย่อม รวมทั้งธุรกิจพระเครื่อง เป็นต้น ส่วนเงินหรือรายได้ที่ได้รับมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น กลับมิได้ถูกนำมานับรวมเข้าไว้อยู่ในสถิติของบัญชีรายได้ประชาชาติ

ฉบับหน้า มาต่อกันด้วย “ปัญหาที่เกิดจากการมีเศรษฐกิจนอกระบบ”

https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1141476




ประชาสัมพันธ์ PR News

เทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับ Local Modern Retail ต้องเลือกที่ใช่เพื่อยกระดับสู่ Smart Retail article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกันยายน 2567 article
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแจกเงินแค่เครื่องมือ หมุดหมายสำคัญคือข้อมูล article
ถอดรหัส จาก Work-Life Balance สู่ Work-Life Integration article
‘ศูนย์การค้า’ แนวคิดใหม่ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค article
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนสิงหาคม 2567 article
ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ) article
ครึ่งปีหลัง 2567 เหนื่อยกว่าที่คิด หนักกว่าที่คาด article
เศรษฐกิจ Brand Name มือสอง ของดี ที่ต้องมี
Why SME Fail !!! เมื่อจะใช้เทคโนโลยี AI article
Quantum AI เทคโนโลยี Disrupt Retail อนาคตอันใกล้ article
หนี้ครัวเรือน ลูกระเบิดที่จะฉุดค้าปลีกฟื้นตัวช้า article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทยทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (จบ) article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทย ทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (1)
เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว article
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกันยายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนพฤษภาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนเมษายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนมีนาคม 2564
ดัชนีค้าปลีก กุมภาพันธ์ 2564
กิจกรรมของสมาคมฯปี 2563
กรมอนามัย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของสถานบริการ ร่วมประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID (TSC)
New Normal Retailer
ขอเชิญชวนสมัครสมาชิกสมาคมฯ ปี 2564
ลงทะเบียน ผู้ที่ยังมิได้รับการอบรม ผู้สัมผัสอาหาร ด่วน
ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ONLINE เริ่ม 7 ธ.ค. 63
เคาะ “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 แสนล้าน ดัน GDP 0.30 %
รัฐบาลอนุมัติ ช้อปดีมีคืน เพิ่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คู่มือและเอกสาร : การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 (22/7/63)
HR committee Meeting 18/02/2563



Copyright © 2014 All Rights Reserved.