ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook


ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ....... ต้องเพื่อสร้างสมดุลความเป็นธรรมการค้าและสุขภาพ article

 

ประเทศไทยมีมูลค่าการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 504,000 ล้านบาท และในปี 2570 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 665,000 ล้านบาท

        ขณะที่มูลค่าการส่งออกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 6,550 ล้านบาท โดยส่งออก “เบียร์” มากที่สุด มีมูลค่ากว่า 3,900 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ไวน์องุ่น มีมูลค่าการส่งออก 2,400 ล้านบาท 

        นอกจากมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งจากรายได้จากการขาย การส่งออก การบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ภาครัฐเองยังสามารถจัดเก็บภาษีทั้งจากการขออนุญาต การผลิต และภาษีสรรพสามิต จากการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย 

        ทั้งนี้จากข้อมูลจัดเก็บรายได้ ภาษีกรมสรรพสามิต พบว่า ในแต่ละปีกรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีสุราและเบียร์รวมกันมากถึงปีละ 150,000 ล้านบาท ในช่วงโควิดระบาด (ปี 2563-2565)

        อย่างไรก็ตาม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสุขภาพของประชากรที่ทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วย รวมทั้งปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ส่งผลให้มีการรณรงค์ห้ามดื่มสุรา พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบ ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย 

        ทั้งนี้ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้มาเป็นเวลากว่า 15 ปี แต่ทว่าปัญหาที่เกี่ยวเนื่องทางสังคม ทั้งอุบัติเหตุและการเข้าถึงเครื่องดื่มของเด็กและเยาวชนกลับไม่ได้มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญเท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กว่า 5 ฉบับ นำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้มีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5 ฉบับ ผ่านฉลุย

        เมื่อวันที่ 27 มี.ค.2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรโหวตรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้ง 5 ฉบับ ยึดฉบับ ครม. เป็นร่างหลักในการพิจารณา ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 42 คน แปรญัตติ 15 วัน ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ทั้ง 5 ฉบับ เสนอโดย หน่วยงานที่หลากหลาย ทั้ง รัฐบาล พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน

        โดยร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้ง 5 ฉบับ มีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคการค้าและบริการบางประเด็น ดังนี้

- การยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พ.ย.2515 ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเวลาการขยายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่เวลา 11.00-14.00 น. และตั้งแต่เวลา 17.00-24.00 น.

- การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดออนไลน์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกรณีที่ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

- การกำหนดรายละเอียดข้อความที่ระบุบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยต้องไม่มีข้อความในลักษณะที่เชิญชวนให้บริโภค

- แก้ไขคำนิยาม “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” และ “การสื่อสารการตลาด” และเพิ่มเติมคำนิยาม “ผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”เพื่อให้มีความชัดเจนและครอบคลุมการบำบัดรักษาในกลุ่มบุคคลมากยิ่งขึ้น

        อย่างไรก็ตาม ร่างแต่ละฉบับมีจุดมุ่งเน้นของตนเองจากมุมมองที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้บรรลุกฎระเบียบที่สมดุล เสมอภาค และมีความรับผิดชอบภายในภาคส่วนธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพยายามคลายข้อจำกัดเกี่ยวกับผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายย่อย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างตลาดที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้แบรนด์ขนาดเล็กและท้องถิ่นสามารถแข่งขันอย่างยุติธรรมกับบริษัทขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจอีกด้วย แนวทางที่สมดุลถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข

ไฮไลต์ประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมการพิจารณา

1.ข้อจำกัดในการขาย ปลดล็อกกฎระเบียบ โดยเฉพาะการยกเลิกการห้ามขายในช่วง 14.00-17.00 น. การกำหนดโซนที่เหมาะสม และยกเลิกการห้ามช่องทางการขายบางช่องทาง รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การปรับเปลี่ยนเหล่านี้มุ่งหวังให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน

2.กฎระเบียบด้านการตลาด/การโฆษณา การตลาดเป็นอีกประเด็นสำคัญที่การปฏิรูปสามารถเสริมสร้างการโฆษณาและการส่งเสริมการขายอย่างมีความรับผิดชอบ กฎหมายการโฆษณาในปัจจุบันมีพื้นที่สำหรับการตีความอย่างมากมาย และแนวปฏิบัติที่นำเสนอพยายามที่จะชี้แจงกิจกรรมการโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ได้รับอนุญาต ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างมาตรฐานการตลาดที่มีความรับผิดชอบ สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าผู้ดำเนินการจำนวนมากทั้งในระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่น มีแนวทางปฏิบัติทางการตลาดที่มีความรับผิดชอบซึ่งนอกเหนือไปจากกฎหมายท้องถิ่น

อาหารและเครื่องดื่มเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

        ตามรายงานของ Oxford Economics ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ในสายตานักท่องเที่ยว ด้านคุณภาพอาหารและประสบการณ์จาก 89 ประเทศ ด้วยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม จำให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มความน่าดึงดูดใจให้กับบริการอาหารและเครื่องดื่มและบริการต่างๆ ได้ ทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังมองหาคุณภาพและประสบการณ์ ด้วยนโยบายที่สนับสนุนทั้งคุณภาพของบริการอาหารและเครื่องดื่มและความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ประเทศไทยสามารถเสริมสร้างชื่อเสียงในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญได้ 

        การปรับปรุงดังกล่าวสามารถยกระดับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การท่องเที่ยว และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย การลงทุนครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังจะสนับสนุนตำแหน่งการแข่งขันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะจุดหมายปลายทางด้านอาหารและเครื่องดื่มและการบริการชั้นนำอีกด้วย

https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1158582

 

 




ประชาสัมพันธ์ PR News

ค้าปลีกและบริการ ปี 2568 '4 ความหวัง 5 ความกังวล' article
นิยาม....ค้าปลีกและบริการปี 2567 ‘ลอยคอ รอคอย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ’ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนธันวาคม 2567 article
แนวทางปฏิบัติ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568 article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤศจิกายน 2567 article
ปักหมุดทำความเข้าใจกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง article
PHYGITAL แนวโน้มธุรกิจการค้าและบริการในอนาคต article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนตุลาคม 2567 article
Everyday AI IS NOW article
ช้อปออนไลน์ โตก็จริง แต่ผู้บริโภคก็ยังชอบมาที่ร้านค้าอยู่ดี article
รู้แต่เปลือก แต่ไม่รู้แก่น ผิดที่ ผิดเวลา 10 ปีก็ไม่โต! article
เทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับ Local Modern Retail ต้องเลือกที่ใช่เพื่อยกระดับสู่ Smart Retail article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกันยายน 2567 article
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแจกเงินแค่เครื่องมือ หมุดหมายสำคัญคือข้อมูล article
ถอดรหัส จาก Work-Life Balance สู่ Work-Life Integration article
‘ศูนย์การค้า’ แนวคิดใหม่ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค article
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนสิงหาคม 2567 article
ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ) article
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก...เกินคาดคิด (1) article
ครึ่งปีหลัง 2567 เหนื่อยกว่าที่คิด หนักกว่าที่คาด article
เศรษฐกิจ Brand Name มือสอง ของดี ที่ต้องมี
Why SME Fail !!! เมื่อจะใช้เทคโนโลยี AI article
Quantum AI เทคโนโลยี Disrupt Retail อนาคตอันใกล้ article
หนี้ครัวเรือน ลูกระเบิดที่จะฉุดค้าปลีกฟื้นตัวช้า article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทยทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (จบ) article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทย ทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (1)
เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว article
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกันยายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนพฤษภาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนเมษายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนมีนาคม 2564
ดัชนีค้าปลีก กุมภาพันธ์ 2564
กิจกรรมของสมาคมฯปี 2563
กรมอนามัย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของสถานบริการ ร่วมประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID (TSC)
New Normal Retailer
ขอเชิญชวนสมัครสมาชิกสมาคมฯ ปี 2564
ลงทะเบียน ผู้ที่ยังมิได้รับการอบรม ผู้สัมผัสอาหาร ด่วน
ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ONLINE เริ่ม 7 ธ.ค. 63
เคาะ “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 แสนล้าน ดัน GDP 0.30 %
รัฐบาลอนุมัติ ช้อปดีมีคืน เพิ่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คู่มือและเอกสาร : การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 (22/7/63)
HR committee Meeting 18/02/2563



Copyright © 2014 All Rights Reserved.