
การบริหารร้านค้าปลีก หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับองค์ประกอบของร้าน การบริหารกลุ่มสินค้า การจัดเรื่องสินค้า การกำหนดบรรยากาศ สีสัน แสงสว่าง ให้เหมาะสมกับคอนเซปของธุรกิจ (ร้านค้า) และสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการที่ดีก็เพียงแค่คำนึงถึงหัวใจสำคัญ คือ ลูกค้า โดยที่ลูกค้าต้อง…Visibility Accessibility, Easy to Shop, Easy to Check out
องค์ประกอบของร้านค้าปลีก
ถ้าเอ่ยถึงส่วนผสมการตลาด 4 Ps (Product, Price, Place, Promotion) ล้วนแล้วแต่มีผลต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคอาจถูกดึงดูดใจด้วย packaging ภาชนะบรรจุภัณฑ์ รสชาติของสินค้าหรือคุณประโยชน์ การใช้สอยของสินค้า ราคาที่ล่อใจ รวมทั้งการส่งเสริมการขาย และการกระจายสินค้าที่ง่ายต่อการหาซื้อ
ร้านค้าก็ไม่ต่างกับผลิตภัณฑ์ แต่ส่วนผสมการตลาดของร้านค้ามีความหลากหลายและความละเอียดอ่อนมากกว่าผลิตภัณฑ์ ทุกๆองค์ประกอบของร้านค้าล้วนแล้วแต่ผลต่อลูกค้าไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ซึ่งองค์ประกอบและอุปกรณ์ต่างๆในร้านมีทั้งที่อยู่ภายนอกร้านและภายในร้าน และแต่ละองค์ประกอบก็จะมีบทบาทหน้าที่และเป้าประสงค์ต่อลูกค้าที่ต่างกัน
องค์ประกอบภายนอกร้าน - Visibility and Accessibility
องค์ประกอบภายนอกร้าน เป็นองค์ประกอบต้นๆ ที่ผู้บริโภคได้พบเห็นและก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีต่อร้านค้า องค์ประกอบภายนอกร้านประกอบด้วย
บทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบภายนอกก็เพื่อดึงลูกค้ามาที่ร้านด้วยการอำนวยความสะดวกในการตระเตรียมพื้นที่จอดรถทั้งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และจักรยาน
จากนั้นก็จะสื่อสารกับลูกค้า เพื่อบอกให้ผู้ที่สัญจรไปมารับรู้ว่าร้านเราเป็นร้านอะไร ขายอะไร เน้นลูกค้ากลุ่มใด ด้วยป้ายหน้าร้าน การตกแต่งตัวอาคารร้าน (Facet หรือเข้าใจง่ายๆว่าหน้ากากตึก) ซึ่งจะบ่งบอกถึงว่าร้านเราขายอะไร การตกแต่งหน้าร้านและช่องหน้าต่างสินค้า เพื่อกระตุ้นความสนใจให้เข้ามาเยี่ยมชมในร้าน
ดังนั้น เมื่อลูกค้าที่เดินผ่านเห็นการตกแต่งภายนอกแล้ว อันดับถัดมาก็จะถูกดึงดูดเข้ามาส่วนในของร้านในที่สุด สรุปแล้ว สิ่งสำคัญหน้าร้านอยู่ที่การสื่อสารให้รู้ว่า “เข้าไปในร้าน ง่าย สะดวก และสบายใจ”
องค์ประกอบภายในร้าน - Easy to Shop ; Easy to Check out
เมื่อลูกค้ามายังร้านได้ง่าย สะดวก ให้ความสนใจร้านค้า แล้วย่างก้าวเข้าไปในร้าน หน้าที่ต่อไปต้องเหนี่ยวนำให้ลูกค้าจับจ่าย โดยใช้ปัจจัยภายในที่ทำให้ลูกค้า “เดินได้ง่าย ที่สำคัญเดินทั่วร้าน และตัดสินใจซื้อ” ซึ่งประกอบด้วย
1.ส่วนผสมสินค้า (Merchandising Mix) หมายถึง การจัดสรรพื้นที่ของแต่ละกลุ่มสินค้าและการจัดตำแหน่งการวางสินค้าให้สอดคล้องกับวิถีการจับจ่ายของลูกค้า และบรรลุเป้าหมายการขายและกำไร
2.แผนผังเส้นทางเดินจับจ่าย หมายถึง เส้นทางเดินลูกค้า ให้เดินชมนานและเดินให้ทั่วร้าน โดยกำหนดความกว้างที่ลูกค้าเดินได้สะดวกและเพลิดเพลินจับจ่ายอย่างต่อเนื่อง
3.การจัดวางสินค้าที่ต้องสร้างความประทับใจ (First Impression merchandise) สินค้าด่านแรกที่วางรับกับลูกค้าถัดจากประตูทางเข้าจะต้องให้เกิดความประทับใจแรกพบและเหนี่ยวนำลูกค้าให้อยากเดินเข้าไปชมสินค้าอื่นๆ ในร้าน จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกว่าครึ่งที่เข้าไปในร้านด้วยความไม่ตั้งใจ แต่เพราะเกิดความประทับใจแรกพบที่เห็นสินค้าและถูกเหนี่ยวนำให้เข้าไปสัมผัส ตัวอย่างเช่น ชั้น 1 ของห้างสรรพสินค้ามักจะเป็นหมวดเครื่องสำอาง หรือน้ำหอม ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต ก็มักจะพบผักผลไม้สีสันตาลฤดูกาล ร้านเบเกอรี่ร้านกาแฟก็จะส่งกลิ่นหอมดึงดูดความสนใจก่อน ปัจจุบันร้านแฟชั่นหลายที่จะฉีดกลิ่นหอมเพื่อให้ลูกค้าเดินผ่าน ก็จะเห็นเข้าไปในร้านเพราะกลิ่นหอมโดนใจ
โดยสรุปการบริหารองค์ประกอบร้านค้า ควรทำหน้าที่ให้ครบ 4 ประการ Visibility Accessibility and East to Shop and Easy to Check out
1.ดึงดูดให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย สะดวก ปลอดภัย
2.สื่อสารไปยังลูกค้าเป้าหมาย ด้วยป้ายการตกแต่งภายนอก
3.เหนี่ยวนำให้ลูกค้าเดินทั่วร้าน ใช้เวลาในร้านให้นานด้วยแผนผังเส้นทางเดินจับจ่าย
4.การจับจ่ายสินค้าง่าย ด้วยส่วนผสมสินค้าที่เข้าใจง่ายสอดคล้องต่อเนื่อง
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1167701