ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook


วิกฤติ ‘ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล’ article

 

 

ทะเลไทย เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาเยือนในช่วงปีใหม่มากที่สุด ด้วยวิวทิวทัศน์ที่สวยงามไปจนถึงธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์

       แต่เชื่อไหมว่า ไทยติดอันดับ TOP 10 ที่ “ปล่อยขยะลงทะเล” มากที่สุดในโลก จากรายงานของ Jemback et al ระบุว่าประเทศไทยสร้างปริมาณขยะทางทะเลและขยะมูลฝอยสูงเป็นอันดับ 6 ของประเทศที่มีปริมาณขยะเยอะที่สุดในโลก มีขยะมากถึง 27.40 ล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้เป็นขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตัน 

       โดยผลสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รายงานว่า “ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด” ได้แก่ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22% หลอดพลาสติก 20% ถุงพลาสติก 19.42% ขวดเเก้ว 10.96% ถุงขนม 7.97% เศษโฟม 7.55% กระป๋องเครื่องดื่ม 7.46% กล่องอาหารประเภทโฟม 6.92% หลอด 6.45% ฝาพลาสติก 5.67% และ เชือก 5.61%

ขยะทะเลมาจากไหน?

        แหล่งที่มาของขยะทะเลสามารถพบจากกิจกรรมบนบกและชายฝั่ง (ชุมชน แหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง บริเวณท่าเรือ การท่องเที่ยวชายหาด) คิดเป็น 80% และจากกิจกรรมในทะเล (การขนส่งทางทะเล การประมง การท่องเที่ยวทางทะเล) คิดเป็น 20% ซึ่งขยะเหล่านี้อาจถูกลม กระแสน้ำ คลื่นทะเล หรือฝน นำพาหรือพัดพาขยะให้แพร่กระจายออกไปในทะเลหรือแม้แต่พัดพาจากทะเลขึ้นสู่ชายฝั่ง หรืออาจเกิดจากการตั้งใจทิ้งขยะลงไปในทะเลโดยมนุษย์

        ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงปี 2555-2562 ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่มีแนวโน้มลดลงในปี 2563-2564 เหลือประมาณ 24-25 ล้านตันต่อปี จากสภาพปกติราว 27-28 ล้านตันต่อปี อาจเป็นเพราะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศลดลง กระนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวกลับพบปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในเขตกรุงเทพฯ และมากกว่า 20% ในเมืองอื่น ๆ

        โดยในเดือน ก.พ.2566 จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นได้ว่า ขยะที่พบในทะเลส่วนใหญ่ล้วนมาจากการอุปโภคบริโภคในแต่ละวันของคนเรา ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่เพียงทำลายทัศนียภาพอันงดงามและส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่เผลอกินขยะพลาสติกเข้าไปแล้วเสียชีวิตหรือถูกเศษเชือกอวนรัดจนบาดเจ็บ และเมื่อสัตว์ทะเลลดจำนวนลงย่อมส่งผลกระทบต่อการประมง นอกจากนี้ ขยะทะเลที่กลายเป็นไมโครพลาสติกจะปนเปื้อนไปในห่วงโซ่อาหารสู่การบริโภคของมนุษย์ อีกทั้งมลพิษจากขยะทะเลที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง

มาตรการจัดการขยะพลาสติกภาครัฐ

       ปัจจุบันภาครัฐตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้มีการกำหนดมาตรการทั้งทางกฎหมายเพื่อควบคุมปริมาณการผลิตและการใช้พลาสติก และจัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (ปี 2561-2573) โดยขอความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastics) 7 ชนิด ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ไมโครบีดส์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ (ภายในปี 2562) ถุงพลาสติกหูหิ้วความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร (ภายในปี 2565) แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และหลอดพลาสติก (ภายในปี 2568) และยังตั้งเป้าให้ขยะพลาสติกทั้ง 7 ชนิดสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% ภายในปี 2570

       ไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้น ภาคส่วนอื่นๆ ก็ให้ความสนใจในการช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกนี้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการคิดค้นบรรจุภัณฑ์ให้เป็นวัสดุนำกลับมาใช้ใหม่ 100% หรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ อย่างข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ชานอ้อย แกลบ เป็นต้น รวมไปถึงการออกแคมเปญรณรงค์ “งดใช้ถุงพลาสติก” และ "การจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ต้องการรับถุงพลาสติก” ที่มีมาตรการให้ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ

       สำหรับการประเมินแผนงานในระยะที่ 1 (ปี 2563-2565) การเลิกใช้พลาสติกมีเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้ 42% (จากเป้าหมาย 75%) และสามารถนำพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ได้ 25% (จากเป้าหมาย 40%) 

       โดยผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ ขวดพลาสติก (ทุกชนิด) จึงทำให้ปริมาณขยะพลาสติกยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี และสามารถนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น สรุป การลดขยะพลาสติกที่ทำได้เพียงครึ่งเดียวจากเป้าหมายที่ว่างไว้ สาเหตุที่สำคัญก็คือ เรายังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาเป็นเพียงขอความร่วมมือเป็นลักษณะภาคสมัครใจ

ประชาชนอย่างเรา ทำอะไรได้บ้าง

       ถ้าเราอยากให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เราในฐานะผู้บริโภคมีผลอย่างมากต่อภาคธุรกิจ ถ้าเราเปลี่ยน ธุรกิจก็เปลี่ยนตาม แต่ถ้าเราไม่ยอมเปลี่ยน เน้นแต่ความสบายที่ยังเคยชินอยู่ ภาคอื่นๆ ก็เปลี่ยนยาก ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ไม่ว่าจะภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่เป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดในสังคม ทุกฝ่ายต้องเปลี่ยน แล้วคุณล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้

       หากเราไม่อยากเห็นท้องทะเลไทยมีภาพลักษณ์ที่ไม่สวยงามจากขยะจำนวนมหาศาล ขอชวนทุกคนไปเที่ยวทะเลแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยการไม่ทิ้งขยะลงทะเล ช่วยกันเก็บขยะที่ตกค้างบริเวณชายหาด แนวปะการัง และป่าชายเลน ลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง แล้วหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำหรือทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ รวมทั้งแยกขยะและทิ้งให้ถูกต้องเพื่อให้ขยะทั้งหลายถูกส่งต่อไปจัดการอย่างถูกวิธีหรือเข้าสู่กระบวนการ Recycle ได้มากขึ้น

ขยะทะเล ลดได้ ด้วยมือของเราทุกคน

https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1170755




ประชาสัมพันธ์ PR News

Shrinkage Safety และ Security ภารกิจ 3S ของหน่วยงาน Loss Prevention article
‘สมาคมผู้ค้าปลีกไทย’หนึ่งเดียวในไทย ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรประเมินวิชาชีพ LP article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนมีนาคม 2568 article
ปลดล็อก!!! ห้ามขาย 5 วันพระใหญ่ และเวลาช่วงบ่าย 2-5 โมงเย็น article
ดัชนีเชื่อมั่น RSI ก.พ.2568 ‘ท้อแท้-กังวล’ แต่ก็ยังมีหวังอยู่นิดๆ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกุมภาพันธ์ 2568 article
ทำไม Omni Channel ถึงสำคัญ ต่อ Retail Business ในยุคดิจิทัล? article
Back to Basic of Retail Visibility/Accessibility/Easy to Shop /Easy to Check(out) article
เปิดศักราชใหม่ 2568 ‘ฝุ่น PM 2.5 มืดครึ้มทั่วฟ้า’ ฉุด...ดัชนี RSI ลดลงถึงสองหลัก article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนมกราคม 2568 article
ติดปีกค้าปลีก ด้วย Technology AI article
จับตาทิศทางค้าปลีก ปี 2568-2570 article
ผู้ประกอบการจะรับมืออย่างไร? ภายใต้ความผันผวนค้าปลีกค้าส่งปี 2568 article
ค้าปลีกและบริการ ปี 2568 '4 ความหวัง 5 ความกังวล' article
นิยาม....ค้าปลีกและบริการปี 2567 ‘ลอยคอ รอคอย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ’ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนธันวาคม 2567 article
แนวทางปฏิบัติ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568 article
ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ....... ต้องเพื่อสร้างสมดุลความเป็นธรรมการค้าและสุขภาพ article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤศจิกายน 2567 article
ปักหมุดทำความเข้าใจกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง article
PHYGITAL แนวโน้มธุรกิจการค้าและบริการในอนาคต article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนตุลาคม 2567 article
Everyday AI IS NOW article
ช้อปออนไลน์ โตก็จริง แต่ผู้บริโภคก็ยังชอบมาที่ร้านค้าอยู่ดี article
รู้แต่เปลือก แต่ไม่รู้แก่น ผิดที่ ผิดเวลา 10 ปีก็ไม่โต! article
เทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับ Local Modern Retail ต้องเลือกที่ใช่เพื่อยกระดับสู่ Smart Retail article
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนกันยายน 2567 article
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแจกเงินแค่เครื่องมือ หมุดหมายสำคัญคือข้อมูล article
ถอดรหัส จาก Work-Life Balance สู่ Work-Life Integration article
‘ศูนย์การค้า’ แนวคิดใหม่ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค article
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนสิงหาคม 2567 article
ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ) article
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก...เกินคาดคิด (1) article
ครึ่งปีหลัง 2567 เหนื่อยกว่าที่คิด หนักกว่าที่คาด article
เศรษฐกิจ Brand Name มือสอง ของดี ที่ต้องมี
Why SME Fail !!! เมื่อจะใช้เทคโนโลยี AI article
Quantum AI เทคโนโลยี Disrupt Retail อนาคตอันใกล้ article
หนี้ครัวเรือน ลูกระเบิดที่จะฉุดค้าปลีกฟื้นตัวช้า article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทยทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (จบ) article
ส่องเศรษฐกิจกลางคืนไทย ทำอย่างไรให้ปังเป็นทวีคูณ (1)
เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว article
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนกันยายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนพฤษภาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนเมษายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่น เดือนมีนาคม 2564
ดัชนีค้าปลีก กุมภาพันธ์ 2564
กิจกรรมของสมาคมฯปี 2563
กรมอนามัย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของสถานบริการ ร่วมประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID (TSC)
New Normal Retailer
ขอเชิญชวนสมัครสมาชิกสมาคมฯ ปี 2564
ลงทะเบียน ผู้ที่ยังมิได้รับการอบรม ผู้สัมผัสอาหาร ด่วน
ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ONLINE เริ่ม 7 ธ.ค. 63
เคาะ “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.1 แสนล้าน ดัน GDP 0.30 %
รัฐบาลอนุมัติ ช้อปดีมีคืน เพิ่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คู่มือและเอกสาร : การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 (22/7/63)
HR committee Meeting 18/02/2563



Copyright © 2014 All Rights Reserved.