|
ข้อบังคับ |
ของ |
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย |
|
**************** |
|
สมาคมการค้านี้จัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 และอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร |
|
หมวด 1 |
บททั่วไป |
|
ข้อ 1. ชื่อของสมาคม สมาคมการค้านี้มีชื่อว่า “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” ใช้อักษรย่อว่า “สคท.” และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI RETAILERS ASSOCIATION” คำว่า “สมาคม” ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” |
|
ข้อ 2. สำนักงานของสมาคม นี้ตั้งอยู่ ณ ห้องชุดเลขที่ 100/9 ชั้น 12 อาคารเลขที่ 100/2 อาคารว่องวานิช บี ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร |
|
ข้อ 3. ตราของสมาคม ตราของสมาคมนี้มีเครื่องหมายเป็นรูป |
|
|
|
เป็นรูปดอกไม้ ข้างบนเป็นภาษาไทยว่า “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” ข้างล่างเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI RETAILERS ASSOCIATION” |
|
หมวด 2 |
วัตถุประสงค์ |
|
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ |
|
(1) ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ ประเภทที่เกี่ยวกับการค้าปลีก
|
|
(2) สนับสนุนและช่วยเหลือ แก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก สอดส่องและติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าปลีกทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมการเงินหรือเศรษฐกิจ
|
|
(3) เสริมสร้างความสามัคคี ความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างสมาชิกให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันในทางวิชาการ ข่าวสาร การค้า ตลอดจนการวิจัยเกี่ยวกับการค้าปลีก
|
|
(4) ขอสถิติหรือเอกสาร หรือขอทราบข้อความใด ๆ จากสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินการวิสาหกิจค้าปลีก ทั้งนี้ด้วยความยินยอมของสมาชิก
|
|
(5) ส่งเสริมคุณภาพของสินค้าที่สมาชิกเป็นผู้ผลิต หรือจำหน่ายให้เข้ามาตรฐาน ตลอดจนวิจัย และปรับปรุงการผลิตและการค้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
|
|
(6) ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าปลีกให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ
|
|
(7) ส่งเสริมการผลิตเพื่อให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
|
|
(8) ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติเพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิกได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
|
|
(9) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิก หรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก ในการประกอบวิสาหกิจ
|
|
(10) ส่งเสริมกีฬา การเสริมสร้างพลานามัย และการจัดการบันเทิงตามที่เห็นสมควร
|
|
(11) ให้ความอนุเคราะห์แก่สมาชิกในด้านงานสวัสดิการที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
|
|
(12) ไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง
|
|
หมวด 3 |
สมาชิกและสมาชิกภาพ |
|
ข้อ 5. ประเภทสมาชิก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท มีคุณสมบัติดังนี้ คือ |
|
(1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและคณะกรรมการมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิก
|
|
(2) สมาชิกสมทบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท มีคุณสมบัติดังนี้
(2.1) นิติบุคคล ที่ประกอบกิจการค้าปลีกรายย่อย ค้าส่ง หรือผลิต หรือจัดจำหน่าย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าปลีก ซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคณะกรรมการมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิก
(2.2) บุคคลธรรมดา ที่ประกอบกิจการค้าปลีกรายย่อย ค้าส่ง หรือผลิต หรือจัดจำหน่าย ที่เกี่ยวกับการค้าปลีก ซึ่งได้ยื่นความจำนงต่อเลขาธิการสมาคม ตามแบบพิมพ์ที่สมาคมกำหนดไว้ และคณะกรรมการมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิก
|
|
(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่มีอุปการะคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการของสมาคมมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์และบุคคลนั้นตอบรับคำเชิญ
|
|
ข้อ 6. คุณสมบัติของผู้ที่เป็นสมาชิกสามัญ และสมาชิกสมทบ นอกจากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 แล้ว ผู้จะเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยังจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย คือ |
|
(1) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
|
|
ก. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
|
|
ข. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
|
|
ค. ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกตามพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อน เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยประมาท
|
|
ง. ไม่เป็นโรคอันพึงรังเกียจแก่สังคม
|
|
จ. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
|
|
ฉ. มีฐานะมั่นคงพอสมควร
|
|
(2) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
|
|
ก. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
|
|
ข. มีฐานะมั่นคงพอสมควร
|
|
ค. มีพนักงานปฏิบัติงานในวิสาหกิจของตนเอง ไม่น้อยกว่า 50 คน
|
|
ข้อ 7. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกสมทบของสมาคม ต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการสมาคม หรือกรรมการทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคม ตามแบบพิมพ์ที่สมาคมได้กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกสามัญเป็นผู้รับรอง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา |
สมาชิกผู้ที่ประสงค์จะเสนอชื่อผู้ที่สมควรเชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการสมาคม หรือกรรมการทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคม เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา |
|
ข้อ 8. การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก หลังจากที่ได้รับใบสมัคร ให้เลขาธิการสมาคมนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมในคราวต่อไปครั้งแรก เมื่อคณะกรรมการของสมาคมมีมติให้รับ หรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกแล้วให้เลขาธิการสมาคมมีหนังสือแจ้งให้ผู้สมัครผู้นั้นทราบภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ
หนังสือแจ้งดังกล่าวในวรรคแรกจะต้องจัดส่งเป็นจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของผู้สมัครที่ปรากฏอยู่ในใบสมัคร
|
|
ข้อ 9. วันที่เริ่มสมาชิกภาพ สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติรับเข้าเป็นสมาชิกและผู้สมัครได้ชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงเรียบร้อยแล้ว |
|
ข้อ 10. การแต่งตั้งตัวแทนของสมาชิก |
|
การแต่งตั้งผู้แทนของสมาชิก ต้องทำหนังสือแจ้งให้สมาคมทราบ
|
|
(1) สมาชิกบุคคลธรรมดา แต่งตั้งผู้แทนได้ 1 คน
|
|
(2) สมาชิกนิติบุคคล แต่งตั้งผู้แทนได้ 2 คน เพื่อปฏิบัติกิจการในหน้าที่และใช้สิทธิแทนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ในการนี้ผู้แทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงเข้าร่วมเป็นองค์ประชุมได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้สมาคมทราบ
|
|
ข้อ 11. การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุด ในกรณีดังต่อไปนี้ |
|
(1) ตาย หรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
|
|
(2) ขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 6
|
|
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการของสมาคม และได้ชำระหนี้สินที่ค้างชำระแก่สมาคมเรียบร้อยแล้ว
|
|
(4) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
|
|
(5) ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
|
|
(6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่กำหนดโทษขั้นลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
|
|
(7) คณะกรรมการของสมาคมลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
|
|
ก. เจตนากระทำการใด ๆ ที่ทำให้สมาคมเสื่อมเสียชื่อเสียง
|
ข. เจตนาละเมิดข้อบังคับ
|
ค. ไม่ชำระเงินค่าบำรุงสมาคมเกินกว่า 1 ปี โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
|
|
ข้อ 12. ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยอย่างน้อยให้มีรายการดังต่อไปนี้ |
|
(1) ชื่อและสัญชาติของสมาชิก
|
(2) ชื่อที่ใช้ในการประกอบวิสาหกิจและประเภทของวิสาหกิจ
|
(3) ที่ตั้งสำนักงานของสมาชิก
|
(4) วันที่เข้าเป็นสมาชิก
|
|
หมวดที่ 4 |
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก |
|
ข้อ 13. สิทธิของสมาชิก |
|
(1) ได้รับความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ ของสมาคมจากสมาคมเท่าที่จะอำนวยได้
|
|
(2) เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อสมาคม หรือคณะกรรมการในเรื่องใด ๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของสมาคม
|
|
(3) ขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการ
|
|
(4) เข้าร่วมประชุมอภิปรายแสดงความคิดเห็นซักถามกรรมการเสนอญัตติในการประชุมให้สมาชิก
|
|
(5) มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม
|
|
(6) สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมและมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
|
|
(7) สมาชิกสมทบมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นอนุกรรมการ และออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะอนุกรรมการและโครงการต่าง ๆ ของสมาคม
|
|
ข้อ 14. หน้าที่ของสมาชิก |
|
(1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม มติของการประชุมใหญ่ มติของคณะกรรมการและหน้าที่ซึ่งตนได้รับมอบหมายจากสมาคมด้วยความซื่อสัตย์โดยเคร่งครัด
|
|
(2) ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยชน์ส่วนได้เสียของสมาคม ตลอดจนต้องรักษาความลับในข้อประชุมหรือวิธีการของสมาคม ไม่เปิดเผยข้อความซึ่งอาจจะนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมโดยเด็ดขาด
|
|
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสมาคมให้เจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
|
|
(4) ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิก และปฏิบัติกิจการค้าในทำนองช่วยเหลือกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
|
|
(5) ชำระค่าบำรุงให้แก่สมาคมตามกำหนด
|
|
(6) สมาชิกผู้ใดเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ย้ายที่อยู่ ย้ายที่ตั้งสำนักงานเปลี่ยนแปลงประเภทวิสาหกิจหรือเปลี่ยนผู้แทนนิติบุคคล จะต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่เปลี่ยนแปลง
|
|
หมวดที่ 5 |
ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาชิก |
|
ข้อ 15. ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม |
|
(1) สมาชิกสามัญ จะต้องชำระค่าลงทะเบียน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปี โดยคิดตามยอดขาย และพื้นที่ ดังนี้
|
|
1.1 สำหรับห้างค้าปลีกและบริการ
|
ก. ยอดขายไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ชำระปีละ 7,000 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน)
|
ข. ยอดขายตั้งแต่ 5,001 ถึง 10,000 ล้านบาท ชำระปีละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
|
ค. ยอดขายตั้งแต่ 10,001 ถึง 30,000 ล้านบาท ชำระปีละ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
|
ง. ยอดขายตั้งแต่ 30,001 ถึง 50,000 ล้านบาท ชำระปีละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
|
จ. ยอดขายตั้งแต่ 50,001 ถึง 100,000 ล้านบาท ชำระปีละ 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
|
ฉ. ยอดขายตั้งแต่ 100,001 ล้านบาทขึ้นไป ชำระปีละ 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
|
|
1.2 สำหรับศูนย์การค้า
|
ก. พื้นที่ไม่เกิน 15,000 ตรม. ชำระปีละ 7,000 บาท (เจ็ดพันบาท)
|
ข. พื้นที่ตั้งแต่ 15,001 ถึง 50,000 ตรม. ชำระปีละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท)
|
ค. พื้นที่ตั้งแต่ 50,001 ตรม. ขึ้นไป ชำระปีละ 30,000 บาท (สามหมื่นบาท)
|
|
(2) สมาชิกสมทบ จะต้องชำระค่าลงทะเบียน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปี ๆ ละ 4,000 บาท (สี่พันบาท)
|
|
(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงอย่างใด ๆ ทั้งสิ้น
|
|
วิธีการเรียกเก็บค่าบำรุงสมาคมประจำปี สมาชิกต้องชำระค่าบำรุงสมาคมภายในเดือนมีนาคมของทุกปี สำหรับการนับระยะเวลาชำระค่าบำรุงประจำปี ให้มีผลเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และสิ้นสุดวันที่ 31มีนาคม ของแต่ละปี |
|
หากมีผู้ประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ฯ ในระหว่างปี ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอัตราค่าบำรุงสมาคมประจำปีตามความเหมาะสม |
|
ข้อ 16. ค่าบำรุงพิเศษ สมาคมอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษจำนวนเท่าใดจากสมาชิกเป็นครั้งคราว โดยที่ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด |
|
หมวดที่ 6 |
คณะกรรมการของสมาคม |
|
ข้อ 17. ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ประกอบด้วยสมาชิกสามัญซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 6 คน และไม่เกิน 15 คน |
|
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้น ๆ จะมีมติเป็นอย่างอื่น การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้สมาชิกสามัญหรือสมาชิกสมทบเสนอชื่อของสมาชิกสามัญ ซึ่งตนประสงค์จะให้เข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหญ่โดยมีสมาชิกอื่นรับรองไม่น้อยกว่า 2 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคแรกและตามมติที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้น ๆ ถ้ามีผู้ใดคะแนนเท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้น ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับสลาก
ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งประธานสมาคม 1 คน รองประธาน 2 คน เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ตำแหน่งละ 1 คน และตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ได้กำหนดหน้าที่ตามที่เห็นสมควร
คณะกรรมการสมาคมอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี นับจากวันที่คณะกรรมการชุดเดิมยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ต่อนายทะเบียนสมาคมการค้า ฯ แล้ว กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคมไปแล้วอาจได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสมาคมต่อไปอีกก็ได้ ถ้ามิได้เป็นการออกจากตำแหน่งกรรมการตามมาตรา 19 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 แต่ประธานสมาคมจะดำรงตำแหน่งเกินกว่า 2 สมัยติดต่อกันมิได้
|
|
ข้อ 18. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ กรรมการของสมาคมย่อมพ้นจากตำแหน่งกรรมการในกรณีดังต่อไปนี้ |
|
(1) ครบกำหนดออกตามวาระ
|
|
(2) ลาออก โดยคณะกรรมการของสมาคมได้ลงมติอนุมัติแล้ว เว้นแต่การลาออกเฉพาะตำแหน่งตามข้อ 17. วรรค 3
|
|
(3) พ้นจากการเป็นผู้แทนของสมาชิกสามัญ ซึ่งเป็นนิติบุคคล
|
|
(4) ขาดจากสมาชิกภาพ
|
|
(5) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนจากการเป็นกรรมการ
|
|
(6) เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้ออก ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
|
|
(7) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
|
|
ข้อ 19. กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระ คณะกรรมการอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้เป็นกรรมการอยู่ได้ตามวาระของผู้ที่ตนแทน |
|
กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งนั้นดำเนินการจัดประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในกรณีนี้ให้นำความในข้อ24. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งตามวรรคก่อน อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไป
|
|
ข้อ 20. องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการของสมาคม การประชุมของคณะกรรมการสมาคมจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด เว้นแต่ในขณะที่มีการประชุมคณะกรรมการครั้งนั้น มีจำนวนกรรมการเหลืออยู่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีเช่นนี้กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่เรื่องแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่เท่านั้นจะกระทำกิจการอย่างอื่นใดมิได้ |
|
ข้อ 21. มติของที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคม นอกจากกรณีที่ข้อบังคับนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด |
|
ข้อ 22. ประธานในที่ประชุม ให้ประธานสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสมาคมตามลำดับอาวุโสปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งประธานและรองประธานสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะในการประชุมคราวนั้น |
|
ข้อ 23. การประชุมคณะกรรมการของสมาคม ให้มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมไม่น้อยกว่า 2 เดือนต่อครั้ง แต่ในกรณีจำเป็นประธานสมาคมหรือกรรมการไม่น้อยกว่าจำนวน 1 ใน 3 ของคณะกรรมการจะเรียกประชุมพิเศษขึ้นอีกก็ได้ |
|
ข้อ 24. การเข้ารับหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งและส่งมอบหน้าที่ให้คณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้า ฯ รับจดทะเบียน
ในกรณีนายทะเบียนสมาคมการค้า ฯ ยังมิได้รับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยังมิได้ส่งมอบหน้าที่ตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมต่อไป จนกว่านายทะเบียนสมาคมการค้า ฯ จะรับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการชุดใหม่นั้นเข้ารับหน้าที่แล้ว
|
|
ข้อ 25. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการของสมาคม ให้คณะกรรมการของสมาคมมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ |
|
(1) จัดดำเนินกิจการและทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม
|
|
(2) อนุมัติแผนงานและงบประมาณประจำปี
|
|
(3) จัดงานระเบียบการปฏิบัติงานของสมาคม
|
|
(4) เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการตามข้อ 26. ในตำแหน่งต่าง ๆ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในฝ่ายต่าง ๆ ได้
|
|
(5) พิจารณาการลบชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิกภาพตามข้อ 11. (7)
|
|
(6) อนุมัติการลาออกของกรรมการ ตามข้อ 18. (2)
|
|
(7) แต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์ ตามข้อ 5. (3) และอาจพิจารณาให้เข้าดำรงตำแหน่งเกียรติยศเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคม หรือที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมก็ได้ตามควรแก่กรณี
|
|
(8) ว่าจ้าง แต่งตั้ง ถอดถอนที่ปรึกษาของคณะกรรมการของสมาคม อนุกรรมการของสมาคม ผู้อำนวยการบริหารสมาคม เจ้าหน้าที่สมาคม และพนักงานของสมาคม เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการของสมาคม
|
|
(9) ดำเนินกิจการอื่นตามข้อบังคับ
|
|
(10) แต่งตั้งประธานสมาคมที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว เป็นที่ปรึกษาของสมาคมตามวาระของคณะกรรมการชุดนั้น
|
|
ข้อ 26. อำนาจหน้าที่กรรมการของสมาคมในตำแหน่งต่าง ๆ อำนาจหน้าที่ของกรรมการของสมาคมในตำแหน่งต่าง ๆ มีดังนี้ |
|
(1) ประธานสมาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและนโยบายของคณะกรรมการสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมตลอดจนในที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
|
|
(2) รองประธานสมาคม มีหน้าที่ช่วยเหลือกิจการฝ่ายบริหารซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานสมาคมและกิจการอื่น ๆ ซึ่งได้รับมอบหมายจากประธานสมาคม ตลอดทั้งทำการแทนประธานสมาคม เมื่อประธานสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
|
|
(3) เลขาธิการสมาคม มีหน้าที่ดำเนินงานธุรกิจทั้งปวง ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสมาคม เก็บรักษาเอกสาร เป็นเลขานุการในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมคณะกรรมการ และปฏิบัติในหน้าที่อื่น ๆ ตามข้อบังคับและตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
|
|
(4) เหรัญญิกสมาคม มีหน้าที่เก็บรักษา และจ่ายเงินทำบัญชีการเงิน เก็บรักษา และจ่ายพัสดุของสมาคมและปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
|
|
(5) นายทะเบียนสมาคม จัดทำทะเบียนสมาชิก และทะเบียนต่าง ๆ อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงิน รวมทั้งจัดทำบัตรสมาชิกและปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามข้อบังคับ ตลอดทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
|
|
(6) กรรมการอื่น ๆ มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
|
|
ข้อ 27. ภายใต้บังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที่ 7 การประชุมใหญ่มาใช้บังคับโดยอนุโลม |
|
หมวดที่ 7 |
การประชุมใหญ่ |
|
ข้อ 28. การประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกอย่างน้อยทุกระยะเวลา 12 เดือน การประชุมเช่นนี้เรียกว่า “การประชุมใหญ่สามัญ”การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากการประชุมใหญ่ตามวรรคก่อน เรียกว่า “การประชุมใหญ่วิสามัญ” |
|
ข้อ 29. กำหนดการประชุมใหญ่ กำหนดการประชุมใหญ่ มีดังนี้ |
|
(1) ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายในกำหนด 120 วัน นับแต่วันที่สิ้นปีการบัญชีของสมาคม เป็นประจำทุก ๆ ปี
|
(2) ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการของสมาคมเห็นสมควร หรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดแสดงความจำนงที่จะให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการของสมาคม ให้คณะกรรมการของสมาคมนัดประชุมใหญ่วิสามัญ ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือหนังสือบอกกล่าวจะต้องระบุความแจ้งเหตุ เพื่อการใดที่จะขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญนี้ด้วย
|
|
ข้อ 30 การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม คณะกรรมการของสมาคมจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าว วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ โดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนหรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ภายใต้บังคับของความในวรรคแรก ในกรณีที่เป้นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องแนบสำเนารายงานประจำปีและสำเนางบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วไปด้วย
|
|
ข้อ 31. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่ของสมาคมจะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือเป็นองค์ประชุม |
|
ข้อ 32. กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม การประชุมใหญ่ที่ได้เรียกนัดประชุม วันและเวลาใดหากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้ว 1 ชั่วโมง ยังมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้ทำการบอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้ จะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม |
|
ข้อ 33. ประธานในที่ประชุม ให้ประธานสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้าประธานสมาคมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานสมาคมทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งประธานสมาคมและรองประธานสมาคมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม และถ้าไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุม ก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น |
|
ข้อ 34. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ให้สมาชิกสามัญมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยมีคะแนนเสียง รายละหนึ่งเสียง ทั้งนี้ให้รวมถึงผู้แทนสมาชิกสามัญประเภทนิติบุคคลก็ให้ออกเสียงลงคะแนนได้เพียงคะแนนเดียวเช่นกัน |
|
การออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ให้ถือปฏิบัติเป็น 2 กรณี คือ |
|
(1) โดยวิธีเปิดเผย ให้ใช้วิธีชูมือ
|
|
(2) โดยวิธีลงคะแนนลับ ให้ใช้วิธีเขียนบัตรลงคะแนน และจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการสมาคมเห็นสมควร หรือสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ซึ่งเข้าประชุมร้องขอ
|
|
ข้อ 35. มติของที่ประชุมใหญ่ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด |
|
ข้อ 36. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่ กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่ มีดังนี้ |
|
(1) รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
|
|
(2) พิจารณารายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานในรอบปี
|
|
(3) พิจารณาอนุมัติงบดุล
|
|
(4) เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมเฉพาะในปี ที่ครบวาระ
|
|
(5) เลือกตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี และกำหนดค่าตอบแทน
|
|
(6) กิจการอันที่ต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่
|
|
(7) เรื่องอื่น ๆ
|
|
ข้อ 37. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมสมาชิกประจำเดือน ได้แก่ กิจการอันเกี่ยวกับการปฏิบัติธุรกิจทั่วไปของสมาคม นอกจากกิจการที่จำเป็นจะต้องกระทำโดยการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญ |
|
ข้อ 38. การจัดทำรายงาน บันทึกประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการการประชุมใหญ่ การประชุมสมาชิกอื่น ๆ และการประชุมอนุกรรมการ ให้จดบันทึกไว้ทุกครั้ง และต้องเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับรองในคราวที่มีการประชุมครั้งต่อไป รายงานประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วสมาชิกจะดูได้ในวันและเวลาทำการ |
|
ข้อ 39. การจัดทำงบดุล ให้คณะกรรมการสมาคมจัดทำงบดุลปีละครั้ง และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีไม่น้อยกว่า 30 วัน |
|
หมวดที่ 8 |
การเงินและการบัญชีของสมาคม |
|
ข้อ 40. ปีการบัญชี ให้ถือเอาวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสิ้นปีการบัญชีของสมาคม |
|
ข้อ 41. อำนาจของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งมีอำนาจเข้าตรวจสอบสมุดบัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือ และให้ความสะดวกทุกประการเพื่อตรวจสอบเช่นว่านั้น |
|
ข้อ 42 การเก็บรักษาสมุดบัญชี และเอกสารการเงิน สมุดบัญชีและเอกสารการเงินของสมาคมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคมและให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิกสมาคม |
|
ข้อ 43. การเงินของสมาคม เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดซึ่งสมาคมนี้ตั้งอยู่ ในนามของสมาคมโดยความเห็นชอบของที่ประชุมของคณะกรรมการ |
|
ให้มีเงินทดลองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไม่เกินวงเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ในการนี้เหรัญญิกสมาคมเป็นผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงินการฝากและการถอนเงินจากธนาคารให้อยู่ในอำนาจของประธานสมาคมหรือรองประธานสมาคม หรือกรรมการคนใดคนหนึ่ง โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมลงนามร่วมกับเหรัญญิกสมาคม หรือเลขาธิการสมาคม รวมเป็น 2 คน |
|
ข้อ 44. การจ่ายเงินของสมาคม เหรัญญิกมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าเป็นการจ่ายเงินเกินกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ ให้ประธานสมาคม รองประธานสมาคม หรือเลขาธิการสมาคม เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่าย อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เป็นการจ่ายเงินเกินกว่า 100,000 บาทขึ้นไป จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคมก่อนเสมอไป |
|
ข้อ 45. เงินทุนพิเศษ สมาคมอาจหาเงินทุนพิเศษเพื่อมาดำเนินกิจการและส่งเสริมความก้าวหน้าของสมาคมได้ โดยการเชื้อเชิญบุคคลภายนอกและสมาชิกร่วมกันบริจาคหรือกระทำการอื่นใดตามที่คณะกรรมการเห็น สมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย |
|
หมวดที่ 9 |
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี |
|
ข้อ 46. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนข้อบังคับ ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอน เพิ่มเติมได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมและจะต้องมีหนังสือแจ้งข้อแก้ไขเพิ่มเติมให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน |
|
ข้อ 47. การเลิกสมาคม สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ |
|
(1) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด
|
|
(2) เมื่อล้มละลาย
|
|
(3) เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งให้เลิกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
|
|
ข้อ 48. การชำระบัญชี เมื่อสมาคมต้องเลิกไปเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าวในข้อ 47 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำบทบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 มาใช้บังคับในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 47 (1) ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนดตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 47 (3) ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการของสมาคมชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานครเป็นผู้ชำระบัญชี |
|
หากมีทรัพย์สินของสมาคมที่เหลือจากการชำระบัญชีให้ยกให้แก่นิติบุคคลในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกุศลสาธารณะแห่งหนึ่งแห่งใด หรือหลายแห่งตามมติของที่ประชุมใหญ่ |
|
หมวดที่ 10 |
บทเฉพาะกาล |
|
ข้อ 49. เมื่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่คณะกรรมการของสมาคมชั่วคราวก่อนจนกว่าจะได้มีเลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคม ตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลา 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว |
|
ข้อ 50. เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับข้อ 7 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ |
|
ข้อ 51. ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเป็นต้นไป |