ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
Facebook



  รู้จัก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

 

 

  1. ความเป็นมา

     สามัคคีระหว่างกัน เป็นที่ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร และร่วมกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนแสดงความคิดเห็นที่จะสมาคมผู้ค้าปลีกไทยถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จากความร่วมแรงร่วมใจของผู้ประกอบธุรกิจด้านค้าปลีก เพื่อเป็นการสร้างความนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมค้าปลีกของประเทศโดยในระยะแรกการรวมตัวกันมีลักษณะไม่เป็นทางการใช้ชื่อว่า ชมรมผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้ามีคุณบรรหาร ศิริศิลป์ จากร้านสหกรณ์กรุงเทพ เป็นประธานชมรมฯคนแรก มีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ จากห้างเซ็นทรัล  Mr. Frank Lim จากฟู้ดแลนด์ คุณวินัย เสริมศิริมงคล จากห้างพาต้า คุณสมชาย สาโรวาท จากห้างอิมพิเรียล คุณสุรัตน์ อัมพุช จากห้างเดอะมอลล์ คุณปรีชา เวชสุภาพรจากห้างโรบินสัน คุณมนต์ชัย จุนประทีปทอง จากห้างตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น  

     ต่อมาเมื่อธุรกิจค้าปลีกเติบโตขึ้น สมาชิกของชมรมฯจึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งให้อยู่ในรูปของสมาคมฯเพื่อรองรับความเติบโตทางเศรษฐกิจ    จึงได้มีการจดทะเบียนเป็นสมาคมฯอย่างเป็นทางการใช้ชื่อว่า สมาคมผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2527 โดยมี คุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก ในขณะนั้นมีห้างสรรพสินค้าที่เป็นสมาชิก 11 แห่ง 

 

           ในปี 2531 คุณสมชาย สาโรวาท ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้าต่อจากคุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมาคมฯให้สอดคล้องกับสถานการณ์ขณะนั้น และได้เปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และเปลี่ยนชื่อเรียกจากนายกสมาคมฯ เป็นประธานสมาคมฯ รองนายกสมาคมฯ เป็นรองประธานสมาคมฯ ในสมัย คุณวิโรจน์ จุนประทีปทอง (2535)  

 

           ในปี 2539-2541, 2541-2543 คุณสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์  จาก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 2 สมัย

           ในปี 2543-2545, 2545-2547 คุณพิทยา เจียรวิสิฐกุล  จาก บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 2 สมัย

           ในปี  2547 -2549 คุณลิขิต ฟ้าปโยชนม์  จาก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 1 สมัย

           ในปี  2549 2551 คุณธนภณ ตังคณานันท์  จาก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 1 สมัย

           ในปี  2551 2553 คุณธนภณ ตังคณานันท์  จาก บริษัทเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 1 สมัย

           ในปี  2553 2557  คุณบุษบา จิราธิวัฒน์  จาก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 2 สมัย

           ในปี  2557 2561  คุณจริยา จิราธิวัฒน์  จาก บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 2 สมัย

       ในปี  2561 - 2562 คุณวรวุฒิ อุ่นใจ  จาก บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 1 สมัย

           ในปี 2562 – 2563 คุณคมสัน ขวัญใจธัญญา จาก บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ดำรงตำแหน่ง รักษาการประธานสมาคมฯ เป็นระยะเวลา 1 สมัย

           ในปี 2563 – ปัจจุบัน คุณญนน์ โภคทรัพย์ จาก บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมฯ จนปัจจุบัน

 

 นายกสมาคมฯ ผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้า / ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย

 

        1.  คุณสุทธิเกียรติ  จิราธิวัฒน์     (2527 - 2529,   2529 - 2531)

 

        2.  คุณสมชาย  สาโรวาท           (2531 - 2533,   2533 – 2535)

3.  คุณวิโรจน์  จุนประทีปทอง     (2535 – 2537,   2537 - 2539)

4.  คุณสุทธิชาติ  จิราธิวัฒน์        (2539 – 2541,   2541 -  2543)

5.  คุณพิทยา  เจียรวิสิฐกุล         (2543 – 2545,   2545 – 2547)

6.  คุณลิขิต  ฟ้าปโยชนม์           (2547 2549)

7.  คุณธนภณ  ตังคณานันท์        (2549 2551, 2551 2553)

8.  คุณบุษบา  จิราธิวัฒน์           (2553 2555, 2555 2557)

9.  คุณจริยา  จิราธิวัฒน์            (2557 2559, 2559 2561)

 

        10.  คุณวรวุฒิ  อุ่นใจ                  (2561 2562)  

11. คุณญนน์  โภคทรัพย์           (2563 - ปัจจุบัน)

 

 

 

2. วัตถุประสงค์ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     (1)    ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ ประเภทที่เกี่ยวกับการค้าปลีก

 

(2)    ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความเข้าอันดีระหว่างผู้ประกอบการค้าปลีกและภาครัฐ

(3)  ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ

(4)    ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้าปลีก

(5)    พัฒนาและปรับปรุงข้อมูลธุรกิจค้าปลีก

(6)     สนับสนุนและช่วยเหลือ แก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

(7)    ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าปลีกทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

 

(8)    ไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการเมือง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. การบริหารงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร กิจการของสมาคมฯ ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารของสมาคมฯซึ่งเป็นสมาชิกสามัญผู้ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่จำนวนไม่น้อยกว่า 6 คน ไม่เกิน 15 คน และให้ที่ประชุมลงมติเลือกผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็น ประธาน รองประธาน เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม หรือกรรมการอื่นๆ ตามความเหมาะสม ปัจจุบันคณะกรรมการมีทั้งหมด 15 คน คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี ปัจจุบันมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับผิดชอบเฉพาะเรื่องอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการทรัพยากรมนุษย์และธุรการ คณะอนุกรรมการด้าน ความปลอดภัยอาหาร และคณะอนุกรรมการด้านการป้องกันการสูญหาย โดยมีผู้อำนวยการบริหาร เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานของสมาคมฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย 2563-2565

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  4. การดำเนินงานของสมาคมฯ

 

 

 

     รายได้ของสมาคมฯส่วนใหญ่มาจากค่าบำรุงสมาคมฯของสมาชิกและเงินบริจาค สมาคมฯ เป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ECR Thailand และ สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งเอเซีย (Federation of Asian Retailers’ Association/ FARA) การดำเนินงานของสมาคมฯ อาจแยกเป็นกลุ่มกิจกรรมได้ ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          4.1 ด้านการพัฒนาองค์กร 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้วยความร่วมมือร่วมใจในการบริจาคทุนทรัพย์ของสมาชิก ในปี 2539 สมาคมฯสามารถซื้อสำนักงานเป็นของตนเองได้ ณ ห้องเลขที่ 100/9 ชั้น 12 อาคารว่องวานิช บี ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร และในปีเดียวกันได้มีการแก้ไขข้อบังคับของสมาคมฯ เพื่อให้บุคคลภายนอกเข้าบริหารสมาคมฯ เนื่องจากสมาคมฯ มีกิจกรรมมากขึ้น โดยได้เพิ่มตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ในปัจจุบัน มี ดร.ฉัตรชัย  ตวงรัตนพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร

 

 

 

จากการที่สมาคมฯ มีที่ทำการถาวร และมีเจ้าหน้าที่ประจำทำหน้าที่บริหารงานของสมาคมฯ ทำให้สมาคมฯ สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นหลายคณะ คือ

 

 

 

1.       ทรัพยากรมนุษย์และธุรการ (Human Resources) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.       คณะอนุกรรมการด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 3.       คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันการเสียและสูญหาย (Loss Prevention)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    มีการจัดเสนอข่าวบริการแก่สมาชิกทางจดหมายอิเล็คทรอนิค รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในขณะเดียวกันในด้านต่างประเทศ สมาคมฯ ก็มีการติดต่อกับสมาคมฯ ผู้ค้าปลีกในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอย่างสม่ำเสมอและได้รับการยอมรับอย่างน่าภาคภูมิใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    สมาคมฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้บำรุงสมาคมฯ เป็นครั้งคราว เช่น การจัดสัมมนา งานกาลาดินเนอร์ การจัดการแข่งขันกอล์ฟ และโบว์ลิ่ง เป็นต้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      4.2  ด้านการพัฒนาสมาชิกภาพ 

 

 

 

 

 ณ วันที่ 4 เมษายน 2562 สมาคมฯ มีสมาชิกทั้งสิ้น 89 ราย แยกเป็นสมาชิกสามัญ 41  ราย สมาชิกสมทบ 38 ราย สมาชิกจะได้รับบริการจากสมาคมฯ ทั้งในด้านข่าวสารข้อมูล เช่น การออกจดหมายข่าว การสรุปข่าวค้าปลีก เอกสารแปลบทความทางวิชาการด้านการบริหารการค้าปลีกที่เป็นแนวความคิดใหม่ๆ มีการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน อาทิ เรื่องการป้องกันสินค้าสูญหาย และการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สมาคมฯผู้ค้าปลีกในประเทศต่างๆ และโดยเฉพาะกับสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งเอเซีย (The Federation of Asian Retailers’ Association หรือ FARA)

 การเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ ทั้งที่สมาคมฯ จัดขึ้นเองและที่สมาคมฯ จัดร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิก โดยไม่เก็บค่าเข้าร่วมสัมมนาหรือเก็บในอัตราพิเศษ เป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากสมาชิกอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในด้านกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานหรือภาษีอากร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีก การสัมมนาจัดขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 7-10 ครั้ง

 การนำสมาชิกไปดูงานและเข้าร่วมการประชุมและดูงานในต่างประเทศอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี นับว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สมาคมฯ ให้ความสำคัญและเป็นที่พอใจของสมาชิก การดูงานนอกประเทศเป็นช่องทางที่ดีที่สมาชิกจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ หรือได้พบคู่ค้าใหม่

 การจัดกิจกรรมต่างๆ นั้น สมาคมฯ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ

 -          เพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างสมาชิกของสมาคมฯ

 -          เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและคู่ค้า

 -          เพื่อหารายได้พัฒนาสมาคมฯและจัดกิจกรรมให้บริการต่อสมาชิกของสมาคมฯทางด้านวิจัยและพัฒนา การจัดเก็บข้อมูลและการอบรมสัมมนา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.3 ด้านการพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้า 

 

 

 

 

 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าจัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นทุกขณะ สมาคมฯมีความภูมิใจที่ได้ร่วมมือและชักชวนให้สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย ซัพพลายเออร์ และผู้ค้าปลีก ก่อตั้ง ECR Thailand อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการพัฒนาแนวคิด ECR เพื่อลดต้นทุนในอุตสาหกรรมการผลิต การค้าส่ง การกระจายสินค้า การค้าปลีก ในขณะเดียวกันก็สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นอกจากนั้น สมาคมฯ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมทำงานในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมทำงานกับคณะกรรมการสาขาค้าปลีกของหอการค้าไทย และทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย Truck Terminal Committee และ Bar Code/EDI Working Group ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.4  ด้านการพัฒนารัฐสัมพันธ์ 

 

 

 

 

 สมาคมฯ เป็นแกนกลางสำคัญในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้าปลีก โดยการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปพิจารณาในการตัดสินใจกำหนดนโยบายที่สำคัญ เช่น การลด/เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม การแก้ไขแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีป้าย ในปี 2541- 2542 สมาคมฯ ร่วมกับสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอยกเว้นภาษีมูลค่าแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างปี Amazing Thailand (2541- 2542)

 และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยราชการของรัฐ สมาคมฯ ให้ความร่วมมือแก่หน่วยงานดังกล่าวอย่างเต็มที่ เช่น ร่วมกับกรมส่งเสริมสินค้าส่งออกจัดงาน Amazing Thailand Grand Sale, ร่วมกับกรมอาชีวศึกษาในการจัดทำหลักสูตรธุรกิจค้าปลีกในการศึกษาระบบทวิภาคีเพื่อผลิตบุคคลากรตรงกับตลาดแรงงานค้าปลีกสมัยใหม่, เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยฉลากสินค้า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และอื่นๆ เป็นต้น

 นอกจากนี้สมาคมได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานและเสนอแนะต่อหน่วยราชการเช่น คณะทำงานเพื่อหาข้อสรุปเรื่องแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาคมฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานดังกล่าวทุกด้านต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์สูงสุดจากสมาคมฯ และเพื่อความเป็นปึกแผ่นของอุตสาหกรรมค้าปลีกโดยส่วนรวม ทั้งนี้เนื่องจากสมาคมฯ ตระหนักดีว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารและความรู้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้น และเพื่อจะก้าวให้ทันโลกในยุคปัจจุบันจำเป็นที่ผู้ประกอบการในประเทศจะต้องมีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและสมาคมฯก็พร้อมที่จะทำหน้าที่สนับสนุนอย่างเต็มกำลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © 2014 All Rights Reserved.